วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2557


Parkour (FreeRunning) คืออะไร

Parkour
(บางครั้งเรียกย่อว่า PK) หรือ l’art du déplacement (แปลว่า  The art of moving)
เป็นการฝึกที่จะเอาชนะอุปสรรคในเส้นทางหนึ่งๆ ด้วยท่าทางต่างๆตามธรรมชาติ Parkour ไม่ใช่การแข่งขัน Parkour ใช้ในการเดินทางโดยพยายามที่จะผ่านอุปสรรคให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด หรือในสถานะการฉุกเฉิน
ทักษะต่างๆเช่น การกระโดด การปีน หรือท่าทางพิเศษอื่นๆใน Parkour ได้ถูกใช้จริงแล้ว จุดประสงค์หลักของ Parkour คือ การไปจากสถานที่หนึ่งไปสถานที่อื่นๆโดยใช้เฉพาะ ร่างกายของเรา และ ของต่างๆในสิ่งแวดล้อม อุปสรรคอาจจะเป็นได้ทุกอย่างหนึ่งในนั้นก็อาจจะเป็นธรรมชาติ แต่ Parkour พบบ่อยว่าฝึกในเขตชุมชนเมือง เพราะว่ามีสิ่งก่อสร้างสาธรณะที่เหมาะสม เช่น ตึก หรือ ราวต่างๆ
บางครั้ง FreeRunning ก็จะเป็นคำที่ใช้แทน Parkour ในขณะเดียวกัน FreeRunning เน้นที่ความสวยงามของการเคลื่อนไหวและหาวิธีการสร้างสรรค์ที่จะ ข้ามผ่านอุปสรรคมากกว่าที่จะใช้วิธีที่มีประสิทธิภาพหรือง่ายๆ
อย่างไรก็ตามบางครั้งมีการโต้แย่งข้อกำหนดของคำทั้งสองคำอย่างแน่นอน
ผู้ที่ฝึก Parkour จะถูกเรียกว่า traceur หรือถ้าเป็นผู้หญิงจะเรียกว่า traceuse
Parkour อาจจะได้เปรียบเทียบกับ Martial arts ได้ โดยในเดือนกันยายน 2552 American Parkour เริ่มที่จะเปิดเป็นกลุ่มของ Parkour โดย American Parkour ได้เชิญชวนผู้คนเข้าร่วมกลุ่มนี้ โดยการ Post ข้อมูลทางด้าน Parkour ของตัวเอง โดยได้พัฒนามาโดยผู้ที่ทำงานให้ American Parkour และบุคคลนอก American Parkour เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นความพยายามอย่างที่สุดของพวกเขา
ผลที่ได้ทำให้ Parkour เป็นวินัยในการฝึกทางกายเพื่อเอาชนะอุปสรรคใดๆในเส้นทางโดยการเคลื่อนไหวตามสภาพแวดล้อม
สิ่งที่ Parkour ต้องการในการเล่นคือ ความอดทน ความแข็งแรง ความสามารถทางกายภาพ ความสมดุล ความคิดสร้างสรรค์ ความลื่นไหล การควบคุม ความแม่นยำ มีสติ และการมองสิ่งต่างและคิดที่จะใช้มันอย่างไร
ท่าทางของ Parkour โดยปรกติจะมี การวิ่ง การกระโดด การข้าม การปีน การทรงตัว และท่าทางของสัตว์ โดยท่าทางอย่างอื่นมักมีการมารวมด้วย แต่การใช้ท่า Trick เพียงอย่างเดียวไม่จัดว่าเป็น Parkour
การฝึก Parkour จะเน้น ความปลอดภัย ความรับผิดชอบ และการพัฒนาตัวเอง โดยมันมีความเสี่ยงหลายอย่างเช่นการ โชว์ หรือ อันตรายจากท่าสตั้น
ผลที่ได้จากการฝึก Parkour คือ สังคม ความสามัคคี การแลกเปลี่ยนความรู้ และเป็นสิ่งที่สำคัญคือการเล่นในชีวิต ในขณะที่แสดงความเคารพให้ผู้คน สถานที่ และ ที่ว่างต่างๆ
คัพท์ต่างๆ
แรกเริ่มแล้วเป็นการฝึกที่เรียกว่า l’art du déplacement and le parcours.
Parkour ได้รับการตั้งโดย Hubert Koundé จากคำว่า parcours du combattant จากการฝึกข้ามสิ่งกีดขวามของทหารที่เสนอโดย Georges Hébert.
Traceur และ traceuse ตั้งมาโดย กริยาของ French ที่เรียกว่า tracer ที่แปลว่า “to trace (เขียน, ลากเส้น)”, หรือ “to draw (วาด)”, แต่ก็เป็นคำ slang ของ “to go fast (เพื่อที่จะไปเร็ว)”.
ประวัติต่างๆของ Parkour
Hébert’s legacy
โดย Georges Hébert
ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 Georges Hébert ทหารเรือฝรั่งเศส ได้ออกเดินทางไปที่ต่างๆในโลก ขณะที่ไป Africa เขาได้ประทับใจการบริหารร่างการและความสามารถของชนพื้นเมืองที่เขาพบ
โดยร่างกายของพวกเขา ผอมสวย คล่องตัว คล่องแคล่ว ทักษะสูง และ ทนทาน ถึงแม้พวกเขาไม่มีอาจารย์สอนยิมนาสติกและอาศัยในธรรมชาติ
ในวันที่ 8 พฤษภาคม ปี 1902 เมือง Saint-Pierre, Martiniqie เมืองที่เขาพักอยู่ขณะนั้น ได้ประสบกับภูเขาไฟระเบิดของภูเขา Pelée. Hébert ประสานงานที่จะช่วยผู้คน 700 คน ประสบการณ์นี้มีผลลึกซึ้งกับเขา และเสริมความเชื่อของเขาที่จะต้องมีทักษะกีฬารวมกับความกล้าหาญและความบริสุทธิ์ใจ และเขาก็ได้เอามาเป็นคำขวัญของเขาเอง “être fort pour être utile”(Be strong to be useful)
แรงบันดาลใจจากชนเผ่าพื้นเมือง Hébert ได้เป็น ผู้กวดวิชาพลศึกษาที่ The college of Reims ในฝรั่งเศส เขาเริ่มกำหนดหลักการของวิชาพลศึกษาของเขาเอง และเขาได้สร้างตัวช่วยและแบบฝึกหัดของเขาเองที่เรียกว่า méthode naturelle ( Natural Method )
Hébert ได้ตั้ง méthode naturelle ซึ่งประกอบไปด้วยพื้นฐาน 10 อย่างคิอ การเดิน, การวิ่ง, การกระโดด, กระขยับทั้งสี่ส่วน(แขน2ขา2), การปีน, การทรงตัว, การโยน, การยก, การป้องกันตัว, การว่าย ที่เป็นส่วนหนึ่งในสามกำลังหลักคือ
-พลังหรือกำลัง
-คุณธรรม
-ร่างกาย
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 Hébert ได้ฝึกสอนอย่างต่อเนื่องและขยายเป็นวงกว้าง และได้กลายเป็นระบบพื้นฐานของการฝึกสอบทหารของฝรั่งเศส ดังนั้น Hébert คือผู้หนึ่งในผู้สร้าง Parcours — หลักสูตรการข้ามสิ่งกีดขวางที่ออกแบบโดยสถาปนิกชาวสวิซ คือ พื้นฐานของการฝึกทหาร ซึ่งนำไปสู่การออกกำลังกายของคนทั่วไปและหลักสูตรด้านความเชื่อมั่น และนอกจากนั้น ทหารและนักดับเพลิงชาวฝรั่งเศสได้พัฒนาหลักสูตรข้ามสิ่งกีดขวางที่เป็นที่รู้จักเรียกว่า parcours du combattant และ parcours SP
ครอบครัว Belle
Raymond Belle  เกิดที่ฝรั่งเศสอินโดจีน(ตอนนี้เรียกว่าเวียดนาม) พ่อของเขาตายในสงครามอินโดจีนครั้งแรก และ Raymond ได้แยกกับแม่ตอนประเทศกลายเป็นเวียดนามเมื่อปี 1954 เขาได้ถูกเลี้ยงดูโดยทหารชาวฝรั่งเศสในดาลัด และได้เข้ารับการฝึกเป็นทหาร
หลังจาก “การต่อสู้เดียนเบียนฟู”(Battle of Dien Bien Phu) Raymnd ได้ถูกส่งกลับฝรั่งเศส และ เรียนวิชาทหารจบในปี 1958 ตอนอายุ 19 เขาได้อุทิศตัวให้การออกอำลังกายที่ช่วยให้เขาช่วยให้เขาเป็นหนึ่งใน นักดับเพลิง ด้วยความคล่องตัวของเขา เขาได้กลายเป็น แชมป์นักปีนเชือกของกรมทหาร และได้กลายเป็นหน่วยยอดของกรมทหาร ซึ่งประกอบไปด้วยคนที่ฟิตที่สุดและนักพจญเพลิงที่คล่องตัวที่สุด สมาชิกในหน่วยนี้ได้ถูกเรียกให้ทำภารกิจช่วยเหลือที่ยากและอันตรายที่สุด
เขาได้รับการยกย่องด้าน ความเยือกเย็น ความกล้าหาญ และ เสียสละ Raymon ได้เป็นบทบาทสำคัญของภารกิจเฮลิคอปเตอร์ดับเพลิงครั้งแรกในปารีส หลายความช่วยเหลือ เหรียญ และ ประโยชน์ ของเขาทำให้เขาได้รับชื่อเสียงและเป็นแรงบัลดาลใจให้คนรุ่นต่อไป โดยเฉพาะลูกของเขา David Belle
David เกิดในครอบครัวนักพจญเพลิง และได้รับอิทธิพลจากเรื่องราวของความเป็นวีรบุรุษ Raymond ได้นำ David เข้ารับการฝึกข้ามสิ่งกีดขวางและ méthode naturell – David ได้มีส่วนร่วมในหลายๆกิจกรรม เช่น ศิลปการต่อสู้ ยิมนาสติก ฯลฯ และใช้ความสามารถทางด้านกีฬาของเราในการปฏิบัติ และเมื่ออายุ 17 เขาได้ออกจากโรงเรียนเพื่อหาอิสระและความแข็งแกร่ง เขาได้พัฒนาความแข็งแรงและความชำนาญที่ใช้ในชีวิตประจำวันของเขาเรื่อยมาดังที่พ่อของเขาได้นำ
ในช่วงหนึ่งถึงสองปีที่ผ่านมา ฟรีรันนิ่ง (Free Running) คือชื่อของกีฬาแอดเวนเจอร์แบบหนึ่งซึ่งไต่ระดับความป๊อปขึ้นมาในกลุ่มคนหนุ่มสาววัยรุ่นยุคใหม่ ตามที่ต่างๆ เราเริ่มเห็นหนุ่มสาวออกมาประกาศถึงการมีอยู่ของกีฬาชนิดนี้กันเยอะขึ้นเรื่อยๆ

       ความสนุกของมันอยู่ตรงไหน ความท้าทายของมันคืออะไร? วุฒิ around the world ผู้ก่อตั้งดูแลเว็บไซต์ thailandfreerunner.wordpress.com เป็นหนึ่งในหัวหอกคนสำคัญที่ร่วมบุกเบิกกีฬาประเภทนี้ เรานัดพบกับเขาในบ่ายแก่ๆ วันหนึ่ง เพื่อถามถึงที่มาที่ไป และความมันท้าทายของกีฬาชนิดนี้
Free Running : สุดยอดในเสี้ยววิ
      
       จุดเริ่มจริงๆ ของพวก Free runner นี่มาจากประเทศอะไร
       จริงๆ พื้นฐานมันก็มาจากการตีลังกา แต่ว่ามันก็มาจากกีฬา Parkour ของทางฝรั่งเศสเป็นจุดเริ่มต้น ที่เห็นได้เด่นๆ ก็คงจากหนังเรื่อง B13 ที่ทำให้เป็นกระแสขึ้นมา และเป็นรอยต่อของการพัฒนาที่ คนทางฝั่งยุโรปนำไปใส่ท่าตีลังกาเพิ่มความสวยงาม จากที่เป็นการกระโดดจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง จนคนมาเรียกกันว่า Free running จึงแยกเป็นได้ว่า Parkour คือการกระโดดจากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่ง แต่ไม่มีการตีลังกาเกิดขึ้น แต่ Free running คือโดดได้หมดไม่ว่าที่ไหนและก็มีการใส่ท่าตีลังกาเข้าไป

       พื้นฐานของมันควรจะใช้อะไรบ้าง อย่างกีฬายิมนาสติก หรือว่าสภาพร่างกาย
       ถ้าเป็นปาร์กัวก็ไม่ใช่เรื่องยาก แต่เป็นเรื่องใจ ผมสอนเด็กไปก็บอกได้เลยว่าท่ามันไม่ได้มีอะไรซับซ้อน เพียงแต่ว่ามันไกล มันสูง กล้าทำรึเปล่า แค่นั้นเอง ถือว่าความยากไม่ได้ยากมากมาย แต่ต้องใช้การฝึกซ้ำๆ บ่อยๆ เพราะบางอย่างกล้ามเนื้ออาจจะต้องยืดออกเพื่อจะยึดจับให้ได้ ต้องฝึกบ่อยหน่อย แต่ถ้าเป็นความเข้าใจก็ไม่ได้ยากมาก แต่ถ้าเป็นพวกท่าตีลังกา ความเข้าใจมันจะซับซ้อนกว่า การตีลังกา การกลับตัว หัวใจมันก็คือ ขึ้นไปแล้วเราโดดจะกลับตัวยังไง

       เห็นว่ารับสอนด้วย ส่วนใหญ่เด็กที่มาอยู่ในกลุ่มอายุเท่าไหร่
       สำหรับผมเปิดรับหมด ผมก็เฉียดๆ 40 ปีแล้วยังรู้ว่าเล่นได้ เคยคุยกับหมอมาเหมือนกัน เขาว่าอายุ 40 นี่ก็ควรจะเลิกแล้ว แต่ผมมองว่าผมยังเล่นได้แล้วเราก็ไม่ได้เล่นท่าซับซ้อน ท่าที่มันโหดๆ อะไรขนาดนั้น ผมจะเล่นแบบท่าที่ไม่ได้ยากมาก ท่าเพื่อความสวยงาม เพราะอย่างครูผู้ฝึกเขาก็อายุเยอะๆ กันแล้ว เราก็พอโดดได้ในระดับหนึ่ง
       คือการตีลังกาสำหรับผู้ชาย มันอยากทำได้ทุกคน เพียงแต่มันเริ่มต้นไม่ถูก แล้วก็มีคนหลายประเภทที่เข้ามาเรียนเพราะแค่ความสงสัย มันจะมีทำได้กับทำให้สุดๆ สุดๆ พวกนี้เขาไม่เอา เขาเอาแค่ความสงสัยทำได้ปั๊บก็เลิกเลย พวกนี้ไม่อยากเก่งไงแค่อยากรู้ว่ามันทำยังไง ตีลังกายังไง พอทำได้ก็เลิกเลย มันจะมีรอยต่อของการพัฒนา พวกที่ทำได้สุดๆ แล้วนี่พัฒนาการมันจะน้อยแล้ว จะเหลือก็แต่ฝึกไว้ให้มันคงที่ ให้มันสม่ำเสมอ

       ดูแล้วเป็นกีฬาที่ใช้ความเสี่ยง แล้วคงผ่านอุบัติเหตุมาแล้วแน่ๆ อันตรายขนาดนี้ทำไมยังเล่นอยู่ครับ
       ก็ขึ้นชื่อว่าลูกผู้ชาย ตีลังกามันต้องได้ใช่มั้ย เจ็บแล้วมันต้องเอาคืน เหมือนมันเป็นข้อพิสูจน์ให้เรารู้ว่าเราทำได้ มันเริ่มจากความกลัว ถามว่ากลัวมั้ยก็ตอบเลยว่ากลัว ถามว่ากล้ามั้ยก็ตอบเลยว่ากล้า กลัวก็กลัวแต่เอาก็เอา คือมันอยากรู้ว่าเราทำได้ และทำให้รู้ว่าอายุก็ไม่ได้เกี่ยวอะไรเท่าไหร่หรอก ขอให้คนเราเริ่มเรียนรู้ประสาทมันจะเริ่มพัฒนามันจะเริ่มจับได้ คุ้นเคยแล้วกล้ามเนื้อมันจะเริ่มปรับทีละนิด เราก็จะเริ่มพริ้วไปได้ ทุกอย่างมันทำได้หมดเพียงแค่เราเก็บไปบ่อยๆ ฝึกไปในแต่ละวัน ทำได้หมดล่ะครับ อยู่ที่ว่าจะทำหรือเปล่า อายุไม่เกี่ยว
Free Running : สุดยอดในเสี้ยววิ
      
       มีวิธีอะไรที่จะขจัดความกลัวของผู้ที่เข้ามาเล่นฟรีรันนิ่ง
       สำหรับผมจะมีสเต็ปเป็นขั้นตอน หนึ่งทำอย่างนี้นะ สองได้มั้ย สามดูนะปลอดภัยมั้ย สี่ทำตามนี้นะ แล้วท่าที่ถูกต้องมันจะเซฟตัวของมันเอง คนเรียนจะรู้สึกเองโดยอัติโนมัติแบบมันทำได้แล้วเหรอ พอทำได้ปุ๊บ มันได้ใจแล้ว เข้าใจแล้วว่ามันกลับตัวได้แล้ว ปลอดภัยแล้ว มันก็ไม่กลัวแล้ว การสอนของผมจะเป็นการเอาชนะสัญชาติญาณในการป้องกันตัวของคนเรา โดยใช้ทริคอย่างง่ายๆ แต่ถ้าเป็นอย่างที่กลุ่มอื่นสอนกันบางที่จะสอนแบบจับยัด ฝืนเด็กเพื่อให้ทำให้ได้ กลุ่มอื่นบางกลุ่มฝึกกันบนพื้นปูนเลย ยอมรับว่าถ้าคนที่ได้มันก็เก่งเลย แต่ผมไม่ใช่ จากในยิมก็ไปพื้นหญ้า บางคนอาจจะเป็นพื้นทรายก็แล้วแต่เป็นขั้นไป คือเราไม่จำเป็นต้องเก่งอะไรขนาดนั้นหรอก เอาปลอดภัยไว้ก่อนดีสุด เวลาฝึกอุปกรณ์เซฟผมจะเยอะมาก กันเหนียวไว้ก่อน
       อย่างน้องคนนี้ มาถึงมันเล่นเลย ขึ้นไปอีท่าไหนไม่รู้เจ้าที่แรงมั้งลงมาหน้าฟาดกับพื้นปูนเลย มันบอกขึ้นไปต้องเก็บรอบให้ได้ แต่ก็ยังไปเล่นต่อได้นะฝืนเจ็บได้ แต่ก็ไม่เข็ดหรอกเพราะพวกนี้มันมีใจอยู่แล้ว
Free Running : สุดยอดในเสี้ยววิ
      
       ไอ้น้องคนนี้ที่ถูกพูดถึงคือ โป้ พีระพันธ์ พันธ์ศรี เด็กหนุ่มวัยสันทัด ที่เป็นเด็กโลดโผนของเราในวันนี้
       จริงๆ แล้วน้องใป้มาเริ่มรู้จักกับกีฬาผาดโผนชนิดนี้จากการมารวมกลุ่มเต้นบีบอยกับเพื่อนๆ ตอนแรกก็เริ่มฝึกตีลังกา เพราะนึกว่ามันเป็นท่าบีบอย ต่อมาเมื่อเริ่มเจ็บตัวขึ้นเรื่อยๆ ได้ศึกษาจึงทำให้เด็กคนนึงรู้ว่าที่ตัวเองฝึกมันคือฟรีรันนิ่ง จึงได้สานต่อการฝึกของฟรีรันนิ่งมาเรื่อยๆ สักประมาณ2 ปีได้ เด็กหนุ่มอย่างเขาทำไมถึงเลือกเล่นกีฬาเสี่ยงๆ อย่างนี้ นั่นเป็นคำถามที่อยู่ในใจเรา

       มารู้จักกับกีฬาชนิดนี้ได้ยังไง
       จริงๆ แล้วผมมารู้จักกีฬาชนิดนี้จากเกมส์ครับ เพราะมันจะมีเกมส์ชื่อฟรีรันนิ่ง เราเห็นก็สงสัยว่าทำไมมันตีลังกาเยอะจัง เลยลองถามด้วยกันดูว่าไอ้ที่เราเล่นนี่มันใช่ฟรีรันนิ่งหรือเปล่า แล้วเพื่อนก็ไปดูครับ สรุปแล้วก็คือใช่ครับ ตอนนั้นนี่เริ่มฝึกไปได้สักพัก เริ่มได้ท่าบ้างแล้ว ก็เพิ่งรู้ว่ามันคือฟรีรันนิ่ง

       ทำไมถึงมาชอบกีฬาชนิดนี้
       ก็ไม่รู้หรอกครับ แต่รู้สึกเหมือนเกิดมาเพื่อสิ่งนี้ เล่นแล้วมันใช่เลย รู้สึกอย่างนั้นครับ

       เห็นพี่วุฒิว่าเราเป็นอีกคนที่ได้แผลไปเยอะเหมือนกัน คิดจะเลิกเล่นบ้างมั้ยเจ็บตัวขนาดนี้
       ตั้งแต่เล่นมาก็ยังไม่ถอดใจนะครับ ส่วนใหญ่จะสู้อย่างเดียว เจ็บก็สู้ครับ เพราะว่าถ้าเจ็บแล้วเรายังไม่ได้ท่านี้มา มันเหมือนเจ็บฟรีครับ คือมันเจ็บไปแล้ว มันต้องทำให้ได้ครับ

       ทางบ้านรับทราบมั้ยว่าเราเล่นกีฬาชนิดนี้ แล้วพวกเขาว่ายังไงบ้าง
       ก็เขาบอกว่าอยากเล่นก็เล่นไปเลยครับ ถ้าใจชอบก็เล่นต่อไป หรืออาจจะเป็นเพราะเขาเตือนจนเอือมระอาหมดแล้วครับ ก็มีบอกเหมือนกันว่ามันอันตรายจะเล่นทำไม แต่ก็จะคอยเตือนให้ระวัง

       คนส่วนมากเห็นพวกน้องเป็นเด็กโลดโผน ทำอะไรแผลงๆ พวกนี้ อยากบอกอะไรกับพวกเขามั้ยครับ
       ก็คนส่วนใหญ่ที่เห็นพวกเรารวมกลุ่มกัน อาจจะนึกว่ามั่วสุมกัน บางทีเห็นก็ว่ามันผาดโผนไม่อยากให้ซ้อม ไล่ไปทางนู้นทางนี้บ้าง แต่จริงๆ แล้วเราเล่นกีฬาครับ ทำร่างกายให้แข็งแรง ไม่ติดยาเสพย์ติดอีกต่างหาก

       มีความสุขไหมกับการเล่นกีฬาชนิดนี้
       มีความสุขดีครับ เหมือนลอยได้ เวลาลอยได้ ตีลังกาได้ มันเหมือนว่าเราบินได้ เป็นความสุขเพียงแค่เสี้ยววินาที แต่ก็เป็นความรู้สึกที่สุดยอดของเรา

ฝึกฟรีรันนิ่งขั้นเบสิกครับ รองฝึกกันดูนี้คือวิธีที่ง่ายต่อการฝึกของคนหัดใหม่ครับผม

เปิดสอนการตีลังกากลับหลัง วันเดีย

ประวัติ (History)

Free Runninป็นกีฬาชนิดหนึ่งที่ใช้ทุกส่วนของร่างกาย เป็นกีฬาที่นิยมกันมากในเเทบยุโรป ส่วนมากในประเทศอังกฤษ เเต่ในไทยยังไม่ค่อยมีคนรู้จักมากนัก ผู้ที่เล่น "freerunning" นี้จะต้องมีความเเข็งเเรงทุกส่วน เพราะกี่ฬาชนิดนี้จะมี การกระโดน การปีน การตีลังกา การข้าม การวิ่งที่มีความคล่องตัวมาก เเละจะมีท่าเฉพาะของ"freerunning"เอง เเละจะต้องมีพื้นฐานของ"ยิมนาสติกด้วย" กีฬาชนิดนี้ส่วนมากจะเล่นกัันได้ทุกที่ โดยจะใช้สิ่งของต่างๆ เช่น ตึก 
กำเเพง ราวต่างๆ ที่สามารถกระโดดข้ามได้            

- ในประเทศอังกฤษนั้นเป็นที่นิยมกันมาก เพราะคลิปวีดีโอ Brother's Journey พี่น้อง Chase
 Armitage & Cole Armitage ซึ่งโด่งดังมากไปทั่วโลกทำให้ผู้คนรู้จัก "freerunning" จนถึงปัจจุบันนี้g : 



- ในอังกฤษ นั้นมีการจัดการเเข่งขันด้วย เเละมีการสนับสนุนเป็นอย่างดี เช่นงาน RedBull Art of Motion ที่กรุงเวียนนา ที่มีการจัดการเเข่งขัน

-  ส่วนภาพยนตร์ ที่เกี่ยวกับ "Free Running" นั้นคือเรื่อง B13 Ultimatum

กลับตัวลังกาได้เลย

po backflip1
สำหรับท่านที่ชอบกีฬาผาดโผน หรือเคยคิดที่จะฝึกท่าตีลังกาหลับหลัง
แต่ทำไม่ได้ เพราะไม่รู้หลักการ หรือทริคเทคนิคในการทำท่าตีลังกากลับหลัง
มาเรียนกับทางเรา ท่านจะสามารถทำได้อย่างแน่นอน
เพราะเราจะสอนทีละขั้นตอน จนสามารถทำได้ โดยจะเป็นท่าตีลังกาแบบไม่ใช้มือแตะพื้น
และท่าที่มือแตะพื้น ซึ่งพอท่านสามารถทำท่าตีลังกากลับหลังแล้วก็สามารถไปประยุกต์
ใช้กับกีฬาหรือการแสดงอื่นๆได้อีกมากมาย

ที่มาที่ไปของการเปิดสอนหลักสูตรนี้

backflip1
เนื่องจากเข้าใจและรู้ถึงปัญหาของคนส่วนใหญ่ คือทุกๆคนโดยเฉพาะผู้ชาย ถ้าบอกว่าการตีลังกา หรือการเห็นคนตีลังกาแล้วถามตัวเองว่ารู้สึกสนใจไหม ชอบไหม สนใจไหม แน่นอนทุกๆคน ผมกล้าบอกได้เลยว่าสนใจร้อยละ 80% แน่นอน แต่พอสนใจแล้วอยากทำได้ไหม ก็ต้องบอกว่าอยาก แต่อีกใจนึงก็บอกได้เลยว่ากลัวและกลัวมากด้วย ว่าถ้ากระโดดขึ้นไปแล้วทำการเอียงหลังเพื่อกลับตัว แล้้วกลัวผลที่ตามมาคือ “คอจะหัก คอจะฟาดพื้น หัวจะแตก” หรือเปล่า
อีกประการหนึ่งที่ผมพบปัญหาคือการเจอคนที่เก่งๆหรือทีมที่เล่นเก่งๆ แล้วไปให้เขาสอนให้ แต่ผลปรากฏว่าเขาสอนแล้วทำพลาด ปรากฏว่าคอฟาด ทำให้แหยง และเข็ด กลัวไปเลยกับการตีลังกา ซึ่งผมเคยมีประสบการณ์กับคนที่สอนประเภทนี้มาก่อน เพราะผมก็ทำไม่ไ้ด้ในช่วงแรกเพราะการถ่ายทอดที่ผิดๆ ประเภทมาถึง “พี่ๆแหงนหน้าตอนกระโดดขึ้นไปเลยนะ ถามหน่อย ใครจะไปกล้า สำหรับคนมือใหม่และขี้กลัวโดยเฉพาะผม ทำให้พอกระโดดขึ้นไปผมก็บิดตัวด้านข้างหนีตลอด เพราะสัญชาตญาณในการเอาตัวรอดมันสั่งให้ทำอย่างนั้น”
ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปถ้าได้รับการถ่ายทอดที่ถูกวิธี และถูกต้องตามหลักสอนแบบยิมที่ถูกต้อง
เพราะถ้าฝึกกัันไปผิดๆฝึกกันเองปัญหาที่ตามมาคือสรีระก็จะผิดๆและต่อท่าระดับสูงๆยาก ระเบียบร่างกายก็ไม่ได้ ฟลิกแฟลกเป็นกบเป็นเขียดกันไปซะอย่างนั้น มาแก้กันอีกก็อาศัยเวลาเป็นปีๆ
ซึ่งในการสอนของทางผมที่ผมจะสอนให้เป็นทริคอย่างง่ายๆ เข้าใจได้ง่ายมากและเป็นอย่างรวดเร็ว เป็นแบบฉบับทางลัดมากๆ การเซฟก็เซฟร้อยเปอร์เซ็นต์ (100%) ประสบการณ์อีกอย่างที่ผมพบเจอคือเจอคนที่สอนเก่งแต่เซฟไม่ชัวร์ กับเจอคนสอนธรรมดาแต่เซฟร้อย ผมเลือกอย่างหลัง เพราะผมเข็ดกับการเจ็บตัวและความแหยงที่ตามมาหลอกหลอน แต่ไม่ต้องกลัวครับผมรวบรวมให้หมดแล้วครับทั้งการสอนที่เข้าใจสุดง่ายดายและการเซฟที่ร้อยเปอร์เซ็นต์ หมดปัญหาเรื่องการเจ็บตัวอย่างแน่นอน
และอีกประการเรื่องอายุ เมือก่อนผมก็เข้าใจว่าอายุเยอะๆแล้ว แค่ 30 ก็เยอะแล้ว แต่ไม่ต้องกลัวครับ 40 – 50 ก็สามารถทำได้ถ้าตั้งใจ บางคนเข้าใจว่าอายุเยอะแล้วเส้นจะแข็ง ทำไม่ได้ ก็ต้องขอบอกว่า สามารถทำได้ในระดับที่แบบตีลังกาได้แต่ถ้าระดับหวือหวา อันนี้ค่อยว่ากันเป็นกรณีๆไปนะครับ
เพราะการตีลังกาหลัง หรือฟลิกแฟลก นี่มันไม่ได้ใช้หลังโค้งเยอะถึงจะทำได้นะครับ มันใช้การเก็บเข่าอย่างรวดเร็ว แค่นั้นลังกาก็เกิดแล้วครับ จึงไม่ต้องห่วงสำหรับคนอายุะเยอะแล้วยังอยากเรียน ขอบอกว่า “ยังทัน” ครับ
  






                      อยู่นิ่งไม่ได้ต้อง free running